19 พฤษภาคม 2554

การสร้างท้องถิ่นให้มีพลังทางสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรม และนิเวศวิทยา (จิโมะโตะ กักคุ)

- “JIMOTOKAGU สอนเราเสมอว่า เราจะไม่ร้องขอ สิ่งที่เราไม่มี แต่เราจะค้นหาว่าเรามีอะไรบ้าง

- กรณีตัวอย่างที่ญี่ปุ่น มีสถานะพอสรุปได้ว่า คนร่ำรวยมากขึ้น (GDP), สุขภาพทางกายดีขึ้น, ได้รับการศึกษาดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกและความพึงพอใจในชีวิตกลับลดลงเรื่อยๆจากหลายสาเหตุ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ การมีงานทำที่ดี มีรายได้ ไม่ได้นำมาซึ่งความสุข ดังนั้นต้องกลับมาทบทวนว่าจะทำอย่างไรชีวิตของคนมีความสุขกันอย่างไร

- JIMOTOKAGU หมายถึง การดำเนินงานที่สร้างความเข้มแข็ง สร้างสุขภาพที่ดีให้ชุมชน

- JIMOTOKAGU มีความสัมพันธ์กับ การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ESD) คือ การให้ความสำคัญกับชุมชนการศึกษา โดยเฉพาะด้านการพัฒนาบุคลากร นอกเหนือจากด้านสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ร่วมกัน

- ต้องรู้ให้ได้ว่าเราจะพยายามรักษาสิ่งไหนไว้ และจะปล่อยสิ่งไหนออกไป จะ ทำอย่างไรที่จะเก็บรักษาให้คุณค่าความรู้ ทักษะจากวัฒนธรรมของชุมชนไว้ และควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย/วิถีชีวิต เพื่อให้สิ่งเหล่านี้สามารถดำรงอยู่ได้ เมื่อศึกษาสิ่งเหล่านี้สิ่งที่เกิดขึ้น คือ JIMOTOKAGU

- ลักษณะสำคัญของ JIMOTOKAGU คือ การให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของชุมชน การเป็นกำลังที่สามารถทำให้เรายืนหยัดได้ด้วยตนเองไม่ต้องพึ่งพาสิ่งต่างๆมากมาย สิ่งเหล่านี้ต้องได้รับการฝึกฝน และทุกคนไม่ว่าใครสามารถฝึกฝน JIMOTOKAGU ได้

- คำสำคัญของ JIMOTOKAGU คือ ๑) มองเรื่องของท้องถิ่นตนเอง โดยมีคนในท้องถิ่นเป็นตัวเดินหลัก ในการสืบค้น ค้นคิด สืบทอด และถ่ายทอด โดยอาคัญความช่วยเหลือจากภายนอกเพียงบางส่วน, ๒) สร้าง ความเข้มแข็ง คึกคักให้ชุมชนท้องถิ่นของตนเองใน ๓ ด้าน คือ ผู้คน-ธรรมชาติ-เศรษฐกิจ (การเงิน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การพึ่งพาตนเอง)

- สิ่งสำคัญ คือ การเสริมสร้างพลังในการสร้างสิ่งใหม่ๆ คิดค้นสิ่งต่างๆในสังคมโดยทั่วไป ถ้าไม่สืบค้น ไม่สร้างสรรค์ ยืนอยู่กับที่ สังคมก็จะถดถอย

- JIMOTOKAGU จึงเป็นเรื่องของการเรียนรู้เรื่องของตนเอง บ้านของตนเอง เพื่อตนเอง จากนั้นชักชวนคนอื่นเรียนรู้ ช่วยกันสืบค้น เรียนรู้ร่วมกัน

- สิ่งสำคัญในที่นี้ คือ การค้นหาอัตลักษณ์ในท้องถิ่นให้เจอ

- เราจะต้องเป็นผู้ประกอบการทางสังคม โดยต้องมองถึงอนาคต แล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้อื่น และต้องออกไปดูงานนอกสถานที่เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ สิ่งที่จะทำต้องดึงเอาพลังท้องถิ่นออกมา โดยการลงพื้นที่ ตั้งคำถาม สร้างแรงจูงใจให้เกิดการมีส่วนร่วม เมื่อทำได้ ก็จะทำให้คนในท้องถิ่นเกิดการแสดงพลังได้อย่างประสบความสำเร็จ

- คำว่า Education รากศัพท์มาจากคำว่า Educal เป็นภาษาลาตินที่แปลว่า ดึงออกมา แต่ที่เกิดปัญหาขึ้นนั้นเป็นเพราะว่า คำว่า Education กลายเป็นความหมายของการสอน ไม่ใช่การดึงออกมา

- การสร้างท้องถิ่นจำเป็นต้องมีการสร้างความหวังในการใช้ชีวิตอยู่ในท้องถิ่น เพื่อลูกหลานดำรงชีวิตอยู่ในเมือง เราต้องสร้างเมืองให้เป็นเมืองที่ดี

- ในการทำงานชุมชนต้องสร้างเครือข่าย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ไม่มีศูนย์กลาง ทุกฝ่ายควรจะต้องเท่าเทียมกันหมด และในการทำงานไม่ควรให้เสร็จสิ้นที่ตัวเราเองฝ่ายเดียว จะต้องมีการเชื่อมโยงจากส่วนอื่นๆ เพื่อจะช่วยกันทำ

นี่เป็นเพียงสรุปสาระจากเอกสาร รายงาน สรุปผลการประชุมและการจัดเวทีเสวนา“การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการส่ง เสริมสิ่งแวดล้อมศึกษาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน: เรียนรู้ประสบการณ์จากเมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่นว่าด้วย การสร้างท้องถิ่นให้มีพลังทางสิ่งแวดล้อม สังคม วัฒนธรรมและนิเวศวิทยา  - (JIMOTOGAKU : จิโมะโตะ กักคุ)”

อ่านฉบับเต็มกันได้ที่ http://www.thaieeforum.com/News.php?NewsID=35

ที่มาแรงบันดาลใจ เวทีเสวนาสิ่งแวดล้อมศึกษา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น