บวร, บวร- [บอวอน, บอวอระ-] (แบบ) ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นําหน้า
คํานามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวง
เช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).
แต่คำว่าบวรยังมีความหมายอีกนัยหนึ่ง เป็นความหมายของรูปแบบการพัฒนาชุมชนตามแนวพระราชดำริ
บ. บ้าน ในการพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้ได้ผลเราต้องพัฒนาจากรากฐาน รากฐานของคน
คือจิตใจ ซึ่งสถานที่ๆ ปลูกฝังและสร้างทุกอย่างในจิตใจคนเราก็คือบ้าน บ้านที่ไม่ใช่เพียงสิ่งก่อสร้าง
แต่หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
ว. วัด คือสถานที่ที่หลายๆ คนใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา แต่วัดในการพัฒนาแบบ "บวร" มี
ความสำคัญมากกว่านั้น บางคนคิดว่าวัดอยู่ที่ใจ อยู่ที่ไหนก็ทำดีได้ ความคิดเช่นนั้นก็ถูก และ ดี แต่
การที่เราทำดีคนเดียวอาจจะไม่เพียงพอ วัดจึงควรเป็นสถานที่รวมใจคนในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
โดยมีแนวคิดของการทำความดีเป็นศูนย์กลาง คนเราทำดีในวัดได้มากกว่าใส่บาตร ทำบุญ
นอกจากวัดจะเป็นสถานที่รวมตัวกันเพื่อทำความดี วัดยังเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรม และประเพณี
อันดีงาม
ร. โรงเรียน โรงเรียนเป็นอีกสถานที่ที่ปลูกฝังทุกอย่างให้เยาชน รองจากบ้าน ดังนั้น โรงเรียนจึงมีบทบาท
สำคัญในการสร้างคน
ถ้าเรามีบ้านที่สอนจิตใจคนให้มีความรัก เอาใจใส่ในสิ่งรอบตัว มีวัดเป็นสถานที่สอนใจ รวมใจ ในการ
ทำความดี ถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตชุมชนที่ดี มีโรงเรียนที่ให้ความรู้ที่เหมาะสม ความรู้ที่เราจะสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข สังคมก็จะสงบ เรียบร้อย น่าอยู่
ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
บ(อ)วร, ยังมีอีกหนึ่ง ที่ออกเสียงไม่ออกตัว
ตอบลบอ. องค์กรชุมชน
โดย พรบ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑ เขียนไว้ว่า
“ชุมชน” หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันโดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกัน หรือทำกิจกรรมอันชอบด้วยกฏหมายและศีลธรรมร่วมกันหรือดำเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมีระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
“องค์กรชุมชน” หมายความว่า องค์กรซึ่งเป็นการรวมของชุมชน ชุมชนท้อถิ่น หรือชุมชนท้องถินดั้งเดิม ซึ่งจดแจ้งการจัดตั้งตาม พรบ. นี้ ทั้งนี้ไม่ว่าประชาชนจะจัดตั้งกันขึ้นเองหรือโดยการแนะนำหรือสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ เอกชน หรือ องค์กรพัฒนาเอกชน