14 กรกฎาคม 2551

สหกรณ์กับสิ่งแวดล้อมในประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น
-------------------------------------------------------------------------------------
ภูมิหลัง : ความเสียหายที่เกี่ยวเนื่องกับมลพิษ
ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศญี่ปุ่นส่งผลในวงกว้างช่วงก่อนที่ประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมโหฬารของยุคอุตสาหกรรมใหม่ทำให้ญี่ปุ่นถูกขนานนามว่าเป็นหมู่เกาะแห่งมลพิษ ตั้งแต่ยุคเมจิ หรือปี ค.ศ. 1868 รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าเอาไว้ว่าจะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมการผลิตทำให้เกิดมลภาวะอย่างมาก ผลจากการทำเหมืองอะชิโอะทำให้เกิดแก๊สรั่วไหล ซึ่งสร้างโศกนาฏกรรมร้ายแรงและทำลายหมู่บ้านทั้งหมู่บ้าน มันแสดงให้เห็นภาพหายนะที่เกิดขึ้นจากมลพิษอันมาจากความหละหลวมในการควบคุมขยะจากอุตสาหกรรมใหม่ แม้จะมีการลงมือทำอะไรหลายอย่างในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1911 – 1931 เพื่ออนุรักษ์ความสวยงามทางธรรมชาติ และสร้างสวนสาธารณะ รัฐบาลซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเพียงอย่างเดียวไม่ได้เล็งเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านี้ แล้วสงครามโลกครั้งที่สองก็หยุดชะงักทุกอย่าง การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจกลายเป็นสิ่งที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด ตลอดช่วงยุค 60 อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอยู่ที่ร้อยละ 10 โดยเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมเคมีและอุตสาหกรรมหนัก รวมถึงการส่งออกผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วส่งผลให้ต้องมีการใช้พลังงานอย่างมาก ในช่วงต้นของยุค 60 ตัวเลขความต้องการขุดถานหินและน้ำมันมาใช้เพิ่มขึ้นสามเท่า ซึ่งนำไปสู่การสร้างสถานนีขุดเจาะน้ำมันมากมาย ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ (economy of scale) และต้นทุนความคุ้มค่าจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลต่อมนุษย์กลายเป็นเรื่องที่ถูกละเลย การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเกินพอดีกลายเป็นเรื่องธรรมดา เอกสารของคณะกรรมการร่วมได้อ้างถึงตัวอย่างมากมาย เช่น โรคนิลกะตะ มินะมะตะ (Nilgata Minamata disease) ที่เกิดขึ้นบริเวณแม่น้ำอากะโนะ (Agano River) ในเขตนิอิกะตะ (Niigata Prefecture), โรคอิตะอิ-อิตะอิ (Itai-Itai disease) ที่เกิดบริเวณแม่น้ำจินจู (Jinzu river) ในเขตโทะยะมะ (Toyama Prefecture) หรือ Yokkaichi pollution ในเมือง Yokkaichi เขตมิเอะ (Mie Prefecture) ที่ซึ่งกำลังมีการพัฒนาระบบขุดเจาะน้ำมัน โรคมินะมะตะเป็นโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวเนื่องมาจากมลพิษ ในช่วงต้นของยุค 50 ประชาชนในเมืองประมงของประเทศญี่ปุ่นแห่งนี้ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสทั้งทางกายและจิตใจจากการบริโภคอาหารทะเลซึ่งมีสารปรอทปนเปื้อน ตั้งแต่ปีค.ศ. 1972 มีประชากรเกือบ 300 คนที่ตกเป็นเหยื่อของโรคร้ายนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการบกพร่องทางสติปัญญา, เป็นอัมพาต, สูญเสียการพูดและการมองเห็น มือและขาใช้การไม่ได้หลายคนต้องตายในที่สุด มีการยื่นฟ้องทางกฎหมายในที่สุดผู้ที่เป็นต้นเหตุของการแพร่กระจายสารปรอทลงสู่ทะเลต้องเป็นผู้รับผิดชอบ จึงเกิดการเคลื่อนไหวเพื่อการป้องกันการก่อมลพิษ และมีการริเริ่มกฎหมายเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมขึ้น
ชาวประมงออกมารณรงค์ต่อต้านการทิ้งน้ำเสีย ในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว (Tokyo) โอซากา (Osaka) และนาโกยา (Nagoya) มีเสียงเรียกร้องอย่างต่อเนื่องให้มีการควบคุมโดยนโยบายของเทศบาลเมือง มีการออกกฎหมายมากมาย เช่น กฎหมายควบคุมน้ำเสียปี 1959 (Waste Water Control Law, 1959); กฎหมายพื้นฐานเพื่อการป้องกันมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ปี 1967 (Fundamental Law for Environment Pollution Prevention, 1967) ; กฎหมายอากาศสะอาดและการควบคุมมลพิษทางเสียง ในปี 1968 (Clean Air Law Noise Pollution Regulation Law, 1968); กฎหมายพิเศษเพื่อการบรรเทาทุกข์ความเสียหายที่ส่งผลต่อสุขภาพ ในปี 1969 (Special Measures Act concerning Relief for Damage Health,1969); กฎหมายเพื่อบำบัดมลพิษ ในปี 1970 (Pollution Dispute Treatment Law,1970)
ถึงจะมีกฎหมายเหล่านี้ออกมาแต่มลพิษก็ยังไม่ลดลง จึงได้มีการประชุมพิเศษเพื่อผ่านร่างกฎหมายออกมาอีกจำนวนมาก และมีการตั้งสถาบันเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Agency) ขึ้นในปี 1971 สถาบันนี้มีหน้าที่บริหารและควบคุมแนวคิดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด กฎหมายควบคุมหนี้สินอย่างเคร่งครัด (Strict Liability Law) ก็ออกมาในปี ค.ศ. 1971 เช่นกัน ซึ่งจะแสดงหนี้สินอันเกิดจากความรับผิดชอบในการก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ
วิกฤตการณ์น้ำมัน 2 ครั้งในปี 1973 และปี 1978 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้น เป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นต้องประสบกับภาวะเศรษฐกิจเติบโตติดลบ ทำให้มีการพิจารณาแนวทางการอนุรักษ์พลังงานในขั้นตอนการผลิตและการกระจายสินค้าอย่างละเอียด รูปแบบการผลิตก็มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยใช้เทคโนโลยี และข้อมูลสาระสนเทศเพื่อการอุตสาหกรรมมากขึ้น ในระหว่างการก่อสร้างสะพานและการเชื่อมต่อทางคมนาคมสายหลักรัฐบาลและสาธารณชนให้ความสนใจในการปกป้องธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ และสภาพภูมิประเทศแบบดั้งเดิมมากขึ้น การพยายามนำของกลับมาใช้ใหม่ (Recycling) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นการลดการใช้กระดาษในสำนักงานกลายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยม ในขณะเดียวกัน ก็เกิดสงครามขยะขึ้น ขยะพิษและการกำจัดขยะพิษเหล่านั้นยังคงเป็นปัญหา ตั้งแต่ปี 1970 การพัฒนาสถานที่พักตากอากาศ (Resort) เริ่มเป็นที่นิยม การขับรถชมทิวทัศน์ การพัฒนาสนามกอล์ฟ และบ้านพักตากอากาศในชนบทกลายเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนเรื่องใหม่
สิ่งต่างๆเหล่านี้เปลี่ยนแปลงปัญหาและนโนบายสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อภาคสหกรณ์อย่างมาก ทั้งสหกรณ์การเกษตร, สหกรณ์ประมง, สหกรณ์ป่าไม้ และสหกรณ์ผู้บริโภค สหกรณ์การเกษตรต้องพบกับปัญหาการสูญเสียแรงงานคนรุ่นใหม่, การที่คนในเมืองใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้เคมีมากขึ้น, มาตรฐานความสามารถในการกำจัดของเสียที่ลดลง, คุณภาพน้ำ และอื่นๆ ซึ่งทำให้ปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ จากตัวเลขความสามารถในการตอบสนองความต้องการอาหารจากร้อยละ 82 ลดลงเหลือ ร้อยละ 30 ในเวลา 30 ปีตั้งแต่ปี 1960 ตามที่รัฐบาลได้ประมาณการณ์ไว้ในปี 1960 น้ำที่มีสารปนเปื้อนได้แพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ 86,000 เฮกตาร์ ของพื้นที่การเกษตร และมันเป็นความจริงที่ว่าการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีมากเกินไปในภาคเกษตรก่อให้เกิดมลพิษ ในปัจจุบันมีการคำนึงถึงเรื่องสารตกค้างที่หลงเหลืออยู่ในห่วงโซ่อาหารว่าจะส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์อย่างจริงจัง
ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นเป็นภาพร่างคร่าวๆ ที่แสดงให้เห็นประวัติ วิวัฒนาการว่าเหตุใดประเทศญี่ปุ่นจึงมีการกระตุ้นจิตสำนึกในการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม

ขบวนการสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่น
ประเทศญี่ปุ่นมีการเคลื่อนไหวและส่งเสริมขบวนการสหกรณ์อย่างกว้างขวางด้านการเกษตร , การธนาคาร, การจัดหาวัตถุดิบ, การบริโภค, การป่าไม้ และแรงงานในภาคการผลิต กระบวนการสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน และเริ่มเปิดสู่สายตาของนานาชาติเมื่อช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างมากในเรื่องสัญญาและการแลกเปลี่ยนด้านต่างๆ กับสหกรณ์ในประเทศอื่นๆ ทั้งแถบเอเชีย, ยุโรป, อเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ขบนการสหกรณ์การเกษตรเริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงต้นของยุค 60 โดยมีการก่อตั้งสถาบันเพื่อการพัฒนาสหกรณ์การเกษตรในเอเชีย (Institute for the Development of Agricultural Cooperation in Asia) หรือ IDACA ซึ่งเป็นสถาบันที่ให้การอบรม และเปิดให้นักสหกรณ์ต่างประเทศได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ขบวนการสหกรณ์ของ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลความเคลื่อนไหวของขบวนการสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นมากมายที่ได้รับการแปล และเขียนเป็นภาษาต่างๆ จากจำนวนประชากรของประเทศญี่ปุ่น 25 ล้านคน ประมาณ 1 ใน 5 เป็นตัวแทนที่แสดงให้เห็นความเคลื่อนไหวของขบวนการสหกรณ์ในประเทศญี่ปุ่นใน ระดับนานาชาติ ผ่าน International Cooperative Alliance
มันคือช่วงระหว่างยุคเมจิที่ประเทศญี่ปุ่นได้รับรู้รูปแบบในการปรับเปลี่ยน เศรษฐกิจสู่สมัยใหม่จากยุโรป โดยเฉพาะประเทศเยอรมันและฝรั่งเศส สหกรณ์การตลาดพัฒนาตามแบบไรฟ์ไฟเซน (Raiffeisen) ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง ด้านการประมง สมาคมชาวประมง ผู้บุกเบิกของสหกรณ์การประมงในปัจจุบัน ได้รับความเห็นชอบภายใต้การดำเนินงานในปี 901 การจัดการด้านการตลาดปลามีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการพัฒนาเรื่องการขนส่งให้เป็นอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
จากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนประชาธิปไตย และขบวนการสหกรณ์ก็ได้รับการส่งเสริมเป็นอย่างดี
ทันทีที่สงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศโครงการปรับเปลี่ยนเพื่อความทันสมัย โดยการพัฒนาการผลิตในภาคการเกษตร ป่าไม้ และประมง โดยการช่วยให้อุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถยืนได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่การใช้ประโยชน์จากกฎหมายบางส่วนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ตามมา ด้านการเกษตรการออกกฎหมายการเกษตรพื้นฐานในปี 1961 (Agricultural Basic Law, 1961) โดยมีการสนับสนุนครัวเรือนและการเลือกขยายการผลิตสินค้าเกษตรในมือ โดยเริ่มมีการใช้เครื่องจักรเพื่อการเกษตรและการปศุสัตว์ มีการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่และมีการแนะนำให้เลือกผลิตสินค้าที่แตกต่างกันในแต่ ละพื้นที่ ซึ่งสร้างปัญหาต่อมา การต่อสู้ในด้านการผลิตระหว่างพื้นที่ต่างๆ กลายเป็นปัญหาใหญ่ ความสมบูรณ์ของดินก็ลดลงเนื่องจากการปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำๆ ในพื้นที่เดิม ซึ่งส่งผลให้ต้องใช้สารเคมีต่างๆ และปุ๋ยเคมีเพิ่มมากขึ้น ในด้านการปศุสัตว์ ขนาดของฟาร์มเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งส่งผลให้ต้องมีการนำเข้าอาหารสัตว์ วิกฤตน้ำมันในยุค 70 บังคับให้สหกรณ์การเกษตรในประเทศญี่ปุ่นต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าในการบริโภค น้ำมัน และตระหนักถึงกระบวนในการประหยัดพลังงาน ประจวบกับการที่ผู้บริโภคตระหนักเรื่องปัญหาด้านสุขภาพ และเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น อาหารที่ผลิตจากสารธรรมชาติกลายเป็นเรื่องสำคัญที่ได้รับความสนใจ ซึ่งส่งผลในทางบวก มันบังคับให้เกิดเครือข่ายธุรกิจระหว่างสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ผู้บริโภค
ในช่วงยุค 80 มีความพยายามที่จะตั้งศูนย์กระบวนการผสมผสานขึ้น เพื่อการใช้มูลสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาดินด้วยการใช้ปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ สิ่งนี้ได้ช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และชีวิตของเกษตรกร
เกษตรกรรมที่ใช้สารเคมีน้อยลงและการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับชีวภาพกลายเป็นเรื่องที่ได้ รับความนิยม กระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมงได้ตั้งสำนักงานกฎหมายเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการ เกษตร (Office for Measures for Environmental Preservation of Agricultural) และได้มีการศึกษากฎหมายเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางการ ดำเนินงาน โดยมีสหกรณ์กว่าร้อยละ 30 เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม
จากการที่มีขาดแคลนอาหารเนื่องจากภาวะสงคราม จึงได้มีการรณรงค์ให้มีการก่อตั้งชุมชนสหกรณ์ผู้บริโภคเพื่อให้บริการการ กระจายสินค้าที่เป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างเหมาะสมและยุติธรรม โดยมีการออกกฎหมาย The Consumer Livelihood Cooperative Society Law ในปี 1948 และกฎหมาย Consumer’s Cooperative Union ในปี 1951
สหกรณ์ผู้บริโภคต้องผ่าฟันความยากลำบากมากมาย และวิกฤตน้ำมันในยุค 70 ก็ทำให้พวกเขาตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของสมาชิกในการยกระดับการ คุ้มครองผู้บริโภคผ่านขบวนการสหกรณ์ ระบบร่วมซื้อ กลุ่มแม่บ้าน “ฮาน” (HAN) ในฐานะผู้สนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสหกรณ์ผู้บริโภคได้รับความนิยม อย่างมาก ซึ่งต่อมากลายเป็นที่รู้จักในฐานะการพัฒนาโฉมหน้าใหม่ของขบวนการสหกรณ์ผู้ บริโภคญี่ปุ่น
ในช่วงต้นปี 1960 สหกรณ์ผู้บริโภคญี่ปุ่นได้เริ่มกระตุ้นรัฐบาลญี่ปุ่นให้มีการออกกฎหมายต่อ ต้านการกระจายมลพิษ ในขณะเดียวกันผู้บริโภคเองก็เริ่มมองปัญหาที่เป็นผลมาจากมลพิษ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1990 ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อก่อตั้งคณะกรรมการเพื่อร่างนโยบายทางสิ่งแวดล้อม สำหรับยุค 90 และเพื่อกำหนดแนวความคิดรวมถึงแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ จึงได้มีการเขียนแผนระยะเวลา 3 ปีขึ้น ซึ่งกิจกรรมต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ

การมีส่วนร่วมของสมาชิก
การที่สมาชิกได้เข้ามา มีส่วนร่วมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานความเคลื่อนไหวของผู้บริโภคเพื่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งเห็นได้จากงาน 3 ด้านคือ 1 การช่วยสมาชิกในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตโดยให้ลดการทำลายสิ่งแวด ล้อม 2 ให้ความช่วยเหลือหรือเป็นผู้ช่วยในการเก็บข้อมูล ในการสำรวจเพื่อหาข้อเท็จจริง ซึ่งขบวนการนี้แพร่หลายมาก ร้อยละ 26 ของครัวเรือนในประเทศญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในขบวนการนี้ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยให้สร้างฐานข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนในอนาคต และ 3 กิจกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่ (Re-cycling)
ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต สมาชิกจะให้เครื่องมือง่ายๆ ที่จะช่วยพวกเขา นั่นคือจะมีการแจกรายการตรวจสอบเพื่อสิ่งแวดล้อม (environmental checklist) ให้สมาชิกสำรวจรายการประมาณ 30 อย่าง เช่น การใช้วัตถุดิบ (น้ำ และ พลังงาน) และการปล่อยของเสียที่ป็นอันตราย ซึ่งทำให้สมาชิกสามารถระบุปัญหาในพื้นที่ของตนเองได้ และขบวนการนี้ยังสามารถเข้าใจสิ่งที่ขาดหายไปในรูปแบบการบริโภคของสมาชิก ด้วย

คู่มือแนะนำชีวิตสีเขียว (Eco-life Guidebook) และการสำรวจสิ่งแวดล้อม
ในคู่มือแนะนำชีวิตสีเขียว (Eco-life Guidebook) จะมีคำแนะนำวิธีการที่ถูกต้อง ซึ่งรวมคำแนะนำในการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภคให้ลดการทำลายสิ่ง แวดล้อมลง เช่น การประหยัดพลังงานไฟฟ้าโดยแนะนำให้ลดการชมโทรทัศน์ โดยจะมีการบอกข้อมูลที่ถูกต้องว่าผลของการลดการเปิดโทรทัศน์ 1 ชั่วโมงคืออะไร ความตั้งใจทั้งหมดนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือรูป แบบการใช้ชีวิตนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของครอบครัว และยังมีส่วนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม
หนังสือคู่มือนี้ขายดี มากในกลุ่มสมาชิก ในปัจจุบันกำลังมีการปรับปรุงข้อมูลเพื่อออกหนังสือเล่มใหม่ สิ่งแวดล้อมครัวเรื่อนในชีวิตประจำวัน (Environmental Household Diary) ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์อย่างละเอียดมากขึ้น
สมาชิกยังมีส่วนร่วมในการ สำรวจหาข้อมูล การสำรวจเหล่านี้เกี่ยวข้องกับชุมชนที่พวกเขาอาศัยอยู่ เช่นการศึกษาความเป็นกรดของฝน, คุณภาพน้ำ, การสำรวจกระบวนการกำจัดขยะของโรงงาน และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมระดับชาติในประเด็นต่างๆ เนื่องจากสมาชิกจำนวนมากเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำการสำรวจทำให้สมารถ เก็บและประมวลข้อมูลได้หลากหลายประเด็น ซึ่งข้อมูลทางสถิติเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ในการวางนโยบายระดับชาติต่อไป ในการสำรวจครั้งล่าสุด การวัดความเป็นกรดของน้ำฝนได้รับความร่วมมือจากสมาชิกกว่า 23,000 พื้นที่ และการวัดคุณภาพน้ำในแม่น้ำ 440 สาย ได้รับการสำรวจจากพื้นที่กว่า 1,190 แห่ง โดยเครื่องมือการตรวจวัดนั้นผลิตและจำหน่ายโดยสหกรณ์ผู้บริโภค ท้ายที่สุดการสำรวจนี้ได้ถูกบรรจุเข้าไว้ในแผนการเรียนของเด็กๆ ภายใต้คำแนะนำของผู้ฝึกสอนผู้ปกครองและเด็กจะถูกสนับสนุนให้กลายเป็นนัก สำรวจธรรมชาติ ขบวนการสร้างเครื่องมือทางการศึกษานี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเหตุผลบางประการ
ความเคลื่อนไหวของผู้บริโภคเกี่ยวกับการนำกลับมาใช้ใหม่ (re-cycling) นั้นเกิดขึ้นอย่างกระตือรือร้น สิ่งของที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ได้แก่กล่องนม, กล่องโฟมและบรรจุภัณฑ์อย่างขวดและกระป๋อง น้ำมันพืชที่ใช้แล้วจะถูกเปลี่ยนเป็นสบู่ ขยะจากครัวจะถูกเปลี่ยนเป็นปุ๋ยชีวภาพ จากความเคลื่อนไหวนี้ทำให้สามารถเก็บร้อยละ 24 ของกล่องนมในประเทศญี่ปุ่นกลับมาใช้ใหม่ และร้อยละ 17 ของกล่อโฟม กล่องนมเพื่อการนมกลับมาใช้ใหม่จะถูกขายไปยังโรงงานผลิตทิชชูและกระดาษชำระ
ในเบื้องต้นได้มีการจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและมุมมองในระดับท้อง ถิ่น เพื่อจัดการประชุมระดับชาติต่อไป แต่ละคนต่างให้ความรู้ซึ่งกันและกันในเรื่องรูปแบบการดำเนินชีวิต และแสดงให้เห็นผลกระทบที่ดีขึ้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน
สหกรณ์ ยังมีการพัฒนานโยบายเชิงรุกและการจัดการคลังสินค้าของร้านค้าสหกรณ์ด้วย สินค้าภายใต้ตราสินค้าของสหกรณ์ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สินค้าเหล่านี้จะมีป้ายผลิตภัณฑ์สีเขียว (Ecomark) ติดแสดงอยู่ จนกระทั่งเดือนกันยายน ปี 1993 สหกรณ์ได้ผลิตสินค้าดังกลายกว่า 230 รายการ แบ่งเป็น 3 ประภท คือ 1 สินค้าที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเพียงเล็กน้อย 2 สินค้าที่ผลิตจากการนำวัตถุดิบเก่ากลับมาใช้ใหม่ และ 3 สินค้าที่ประหยัดพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ความพยายามเหล่านี้ก็เพื่อลดการบรรจุหีบห่อสินค้าที่ไม่มีเครื่องหมายสี เขียว (non-ecomark) ศูนย์กำจัดขยะชั่วคราวถูกตั้งขึ้น
ผลงานที่ขบวนการสหกรณ์ผู้บริโภคสร้างขึ้นในประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นที่ประจักษ์ ชัด ซึ่งได้เพิ่มความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิกและบุคคลากรในหลายๆด้าน และเพิ่มความสำนึกในความจำเป็นที่จะต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการต่างๆ ถูกวางไว้โดยละเอียดและดำเนินไปอย่างเข้มข้นในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า
สิ่งที่ต้องการให้แพร่หลายอย่าง หนึ่ง คือความพยายามที่จะทำให้แน่ใจว่าการขนส่งสินค้านั้นสะอาด จึงมีการสร้างรถบรรทุกสินค้าพลังงานไฟฟ้า ด้วยการเพิ่มจำนวนร้านค้าของสหกรณ์ การขนส่งสินค้าด้วยน้ำมันดีเซลหรือน้ำมันอื่นๆ ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นการใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้ามั้งในพื้นที่ห่างไกล และบริเวณชานเมือง ซึ่งมีจำนวนกว่า 10,000 คัน ต้นแบบแรก, CO-OP EV-2000 ถูกสร้างขึ้นในเดือนมกราคม ปี 1991 ด้วยความร่วมมือของกลุ่มอิซูซุ (ISUZU) และมีแผนการที่จะผลิตรถบรรทุกรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นรถพลังงานแสงอาทิตย์ในปี 1994 ด้านการเงินในการวิจัยและพัฒนารถบรรทุกพลังงานแสงอาทิตย์นั้นได้รับความสนับ สนุนจากสหกรณ์ผู้ยริโภคหลายสหกรณ์ รถประเภทนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไม่มีควันพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ต้นแบบของรถบรรทุกรุ่นที่ 2 ยังมีการพัฒนาให้ลดการใช้แบตเตอรรี่เพียง 18 ลูก จากรุ่นแรกที่ต้องใช้แบตเตอรรี่ถึง 27 ลูก มันเบากว่า และโครงรถที่สูงก็ถูกปรับให้เตี้ยลงทำให้ขึ้นลงสินค้าได้สะดวกขึ้น มีสหกรณ์ที่ให้การสนับสนุนโครงการนี้ถึง 50 สหกรณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ 21 โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม

โครงการควบคุมการดำเนินการ
อีกหนึ่งใน 21 โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ของ Japanese Consumers Cooperative Union คือการพัฒนาระบบประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับตู้แช่เครื่องดื่ม จากการศึกษามากมาย เริ่มจากการติดคำแนะนำเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ตู้แช่และบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ระบบนี้ถูกตั้งมาตรฐานขึ้นโดย Life Cycle Assessment (LCA) เพื่อสรุปวิเคราะห์ผลกระทบที่ผลิตภัณฑ์มีต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาด้านต่างๆ เช่น การประเมินเชิงคุณภาพในเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน การปล่อยของเสีย การสร้างมลพิษทางอากาศ อีกทั้งยังมีการประเมินเชิงปริมาณในเรื่องความเสี่ยงในการก่อมลพิษต่อสิ่ง แวดล้อม การสร้างและการกำจัดขยะ การวิเคราะห์ดังกล่าวก็เพื่อที่จะประเมินสินค้าตลอดอายุการใช้งาน และเพื่อที่จะสามารถระบุส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ต้องปรับปรุง และเพื่อสามารถระบุความต้องการจากผลการปรับปรุงได้
ในเขตคะนะกะวะ (Kanagwa) การตรวจสอบนี้ถูกนำไปใช้ในหลายๆ ร้าน การศึกษาเผยให้เห็นความหนาแน่นของมลพิษในระดับสูง ความพยายามนี้ก็เพื่อให้ร้านค้าสหกรณ์ขายผักที่ปลูกโดยใช้ปุ๋ยชีวภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการบริโภคสินค้าที่ใช้ปุ๋ยเคมี กลุ่มเคลื่อนไหวได้คิดค้นระบบตรวจสอบของกลุ่มขึ้นเอง และยังมีการส่งเสริมการบริโภคสินค้านำเข้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างกล้วยจากมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เครื่องหมายใบโครเวอร์ (A clover mark) กลายเป็นเครื่องแสดงว่าสินค้านั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยิ่งฉลากมีสีเขียวมากก็ยิ่งแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาก
ร้านค้าทั่วไปเริ่มมีจิตสำนึกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้คือข้อพิสูจน์ที่ผู้เขียนได้พบด้วยตนเอง

ตัวอย่างในท้องถิ่น : กรณีฮาร์โมส์ ซะมะ (Harmos Zama)
ตัวอย่าง ของการ “คิดเพื่อโลกโดยเริ่มที่เรา” (think globally, act locally) เกิดขึ้นกับผู้เขียนเมื่อเขาได้ไปเยี่ยมร้านค้าสหกรณ์ผู้บริโภคแห่งหนึ่ง ที่เรียกว่า ศูนย์การค้าข้างบ้าน (Neighbourhood Shopping Centre) ร้าน ฮาร์โมส์ ซะมะ (Harmos Zama) ซึ่งดำเนินงานโดยสหกรณ์คะนะกะวะ (Kanagawa) ร้านค้านี้เป็นให้บริการในปี 1992 มีพนักงงานประจำ 22 คน พนักงานชั่วคราว (part-time worker) 177 คน และลูกจ้างเสริม 5 คน มีพื้นที่ทั้งหมด 4,365 ตารางเมตรในเมืองซะมะ (Zama city) ที่นี่เป็นร้านค้าที่สะอาด มีการจัดผังที่ดี จัดจำหน่ายอาหารและสินค้าที่เป็นที่ต้องการของครัวเรือนในชุมชน ทางร้านมีการทำแผ่นพับสรุปขั้นตอนต่างๆ ในการรักษาสิ่งแวดล้อมของร้านแจก
บริเวณ แสดงสินค้าแช่แข็งใช้เครื่องทำความเย็นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม มีการปฏิบัติการกฎระเบียบที่เริ่มใช้ในปี 1996 มีการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟประหยัดพลังงานในส่วนของหลอดไฟที่ติดเพดานเช่นเดียว กับบริเวณที่แสดงสินค้าแช่แข็ง หลอดไฟในร้านนั้นควบคุมโดยสวิตช์ 3 ตำแหน่ง หลอดไฟภายนอกเป็นแบบไวต่อแสงซึ่งประหยัดไฟฟ้า ชั้นวางผักและผลไม้รวมถึงแผงดอกไม้ทำจากไม้ล้มจากป่า ขยะจะถูกจัดเก็บในบริเวณที่แยกออกมา และมีจัดพื้นที่พิเศษเพื่อรองรับวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ อย่าง กล่องนม กระป๋องเหล็กและอลูมิเนียมจากเครื่องขายอัตโนมัติ ถาดโฟม ขวดแก้ว ดุม ตะขอ และแบตเตอรี่นิเกิล-แคดเมี่ยม
กิจกรรมเช่นเดียวกันนี้ ถูกกระจายไปตามร้านค้าสหกรณ์อื่นๆ เช่นกัน The Japanese Consumer’s Cooperative Union มีการส่งเสริมร้านค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ตามแผน 21 โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม มีการเปิดร้าน Oume Shinmachi ซึ่งเป็นร้านค้าที่ขายสินค้าประเภทเดียวกันในเมืองโตเกียว โกเบและไซตะมะ ร้านค้านี้มีพื้นที่ประมาณ 1,100 ตารางเมตร มีต้นทุนสูงกว่าร้านค้าทั่วไปร้อยละ 20 ต้นทุนที่สูงกว่านี้เนื่องมาจากการออกแบบร้านที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น การใช้เครื่องปรับอากาศพลังงานแสงอาทิตย์บริเวณโถง การใส่แผงพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ที่ผนังด้านนอก มีการใช้วัสดุทดแทนการใช้สาร CFC ทั้งนี้ Consumer’s Union ยังมีแผนที่จะห้ามการใช้สาร CFCs ตั้งแต่ปี 1995 การติดตั้งเครื่องแสดงการใช้น้ำส่งผลให้ประหยัดน้ำได้มากขึ้น

บทสรุป
ความวิบัติต่างๆ ทำให้ประเทศญี่ปุ่นได้รับสมยาที่ไม่ค่อยน่าชื่นชมว่าเป็นหมู่เกาะแห่งมลพิษ ขบวนการสหกรณ์สาขาต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นร่วมมือกันในทุกๆ ระดับเพื่อปกปเองสิ่งแวดล้อม การออกกฎหมายมากมายไม่ใช่การแก้ปัญหาแต่เป็นการลงมือของเหล่าเกษตรกร ชาวประมง ป่าไม้ และผู้บริโภคที่ใส่ใจปัญหาสิ่งแวดล้อม สมาชิกของสหกรณ์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุมมลพิษ โดยเฉพาะกรณีของสหกรณ์ผู้บริโภค จิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมนั้นแพร่กระจายไปแม้ในร้านค้าขนาดเล็ก มีการสร้างรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในท้อง ถนน การไปร้านค้าเล็กๆ สามารถทำให้เห็นวิธีการมากมายที่จะช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อม

แปลจากหนังสือ Cooperatives and Environment (An International Perspective)
S.K. Saxena, Pragati Plublications, DELHI, P.36-37

ผิดพลาดประการใดขออภัยไว้ ณ ที่นี้
กอบมณี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น