19 มกราคม 2552

เวลาหนูหายใจ

เวลาหนูหายใจออกจนถึงขีดสุดแล้ว ยังไม่ถึงจุดจบแห่งชีวิต หรือว่าหนูหายใจเข้าจนถึงขีดสุดแล้ว แต่ยังไม่ถึงจุดจบแห่งชีวิต

เอ้า ลองดูสักหน่อยนะ

หายใจเข้า หายใจออก ยังไม่ถึงจุดจบแห่งชีวิต ทั้งขณะที่เข้า และที่ออก
ถามหนูทั้งหมดว่าในขณะที่หนูหายใจเข้าถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่หนูอยากได้ที่สุดของชีวิตคืออะไร
หรือว่าเมื่อหนูหายใจออกถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่หนูอยากได้ที่สุดคืออะไร
หนูทั้งหลายเฝ้าสังเกตุดูหน่อย ชั่วประเดี๋ยวเดียว
มีเด็กผู้หญิงฅนหนึ่งยกมือขึ้น แล้วตอบ เมื่อหนูหายใจเข้าถึงที่สุด หรือว่าเมื่อหนูหายใจออกถึงที่สุดแล้ว สิ่งในโลกนี้หนูไม่อยากได้อะไร หนูอยากได้เพียงแต่ว่าเมื่อหนูหายใจเข้าถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่หนูอยากได้ที่สุด คือ การหายใจออก
หรือเมื่อหนูหายใจออกถึงที่สุดแล้ว สิ่งที่หนูอยากได้ที่สุด คือ การหายใจเข้า

นั่นคือสัจจะของชีวิต ชีวิตสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เป็นสัจจะอย่างนั้นเอง แต่ธรรมชาติของสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถ้าไปขวางความรู้สึก ความยึดมั่น ของกลุ่มใด ฅนใด มันจะเกิดความขัดแย้ง ธรรมชาติมันเป็นเช่นนั้นเอง เมื่อเราฝึกตั้งสติ หรือฝึกให้มีสติ เมื่อเราทำอะไรเนี่ย เราไม่ค่อยรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่เรียกว่าสติ เราจะรู้จักแต่คุณค่าของสิ่งที่เรียกว่าสตางค์ เคยถามเด็กๆว่า หรือเฝ้าสังเกตุเด็กๆ ในขณะที่เด็กยังไม่รู้เนี่ย คุณค่าของสตางค์ ระหว่างให้สตางค์กับให้ของกินเนี่ย เด็กเล็กๆที่ยังไม่รู้คุณค่าของสตางค์เนี่ยจะเลือกเอาของกิน แต่ว่าเมื่อเด็กโตหน่อยรู้มูลค่าของสตางค์ เด็กจะเลือกแต่เอาสตางค์ ของกินไม่เอาแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่สูญหายหรือเสียศูนย์ในเรื่องของสตินั้น ถ้าใครไม่รู้จักคุณค่าของสิ่งที่เราเรียกว่า สติ หรือ สัมปชัญญะ และพยายามเก็บสะสมทำให้มากทำให้เกิดขึ้น แล้วเก็บสะสมให้มากๆ เมื่อมีเวลาจำเป็น หรือต้องการจะใช้ เราก็สามารถนำมาใช้ได้ทันถ่วงที เหมือนยังกับโลกสมัยปัจจุบันนี้ กำลังแสวงหาคุณค่าของสตางค์ โดยคิดว่าเมื่อมีคราวจำเป็นเราจะได้หยิบสิ่งนั้นมาใช้ แต่ก็ใช้ได้เฉพาะกรณี เฉพาะเรื่อง ใช้ไม่ได้ทุกเรื่องสตางค์เนี่ย มันจะอยู่ในวิสัย ในสถานที่ หรือในเหตุการณ์อะไรๆ ถ้าอยู่ในสถานที่หรือเหตุการณ์ บางทีสิ่งที่เรียกว่า เงินทอง อาจจะเป็นอสรพิษ ก็ได้ อย่างบางท่านเข้าไปในสถานที่ไม่ปลอดภัยเนี่ย ... เพราะฉะนั้นก็มาเรียนรู้ร่วมกัน ว่าทำอย่างไรเราจึงจะตั้งสติ แล้วก็มีสติ แล้วก็ใช้สติมีสัมปชัญญะให้มากที่สุด เราจะแสดงอะไร ให้รู้ว่ามันคือการเคลื่อนไหวของโครงสร้าง คือ กายยาววา หนาคืบ กว้างศอก นี้ เราจะใช้อย่างไรหรือขับเคลื่อนไปในวิถีทางใด ต้องเรียนรู้กันไป คือความสงบนี้มันจะสยบสิ่งต่างๆได้หมด ความจริงเราหาความสงบแล้วก็สยบความฟุ้งซ่านของตัวเองก่อน เมื่อสงบสยบความฟุ้งซ่านแล้ว เราจะได้ใช้พลังแห่งความสงบนั้นในการเคลื่อนไหวที่ล้อทุกซี่ เพื่อไปประกอบการงาน เพราะชีวิตต้องยึดติดการงาน ก็จะเป็นการงานที่ชอบ การงานที่ถูกต้อง แล้วก็เป็นการงานที่ขับเคลื่อนไปสู่ชีวิต ไปสู่เป้าหมายของชีวิต ความสงบเย็นเป็นสันติสุขของชีวิต และก็เป็นสันติภาพของส่วนรวม ก็ขออนุโมทนาต่อทุกท่าน
โดย ฺพระครูประโชตธรรมาภิรม, วัดวังศิลาธรรมาราม
๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๑
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น